วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำผลไม้..น้ำสมุนไพร เพื่อสุขภาพ



น้ำแตงโม


ส่วนผสม
เนื้อแตงโม 50 กรัม ( 5 ช้อนคาว)
น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว)
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5ช้อนชา)
น้ำเปล่าต้มสุก 150 กรัม (10 ช้อนคาว)
วิธีทำ
นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั้นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และวิตามินซี ช่วย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยาช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้ กระหายน้ำ






  น้ำเชอรี่


ส่วนผสม
เชอรี่ 100 กรัม (7 ช้อนคาว)
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว)
น้ำเปล่าต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว)
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม(1/5 ช้อนชา)
วิธีทำ
เลือกเชอรี่เด็ดก้านล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่นใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียดนำไปกรอง
เอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่ลง ไปคั้นกับกากเชอรี่ให้แห้งมากที่สุดนำน้ำเชอรี่ที่คั้น
ได้ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออก ตามไรฟัน
คุณค่าทางยาช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง



 น้ำฝรั่ง





ส่วนผสม
ฝรั่งแก่จัด (หันชินเล็ก ๆ) 30 กรัม (2 ช้อนคาว)
น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว)
น้ำเชื่อม 15 กรัม (1 ช้อนคาว)
เกลือป่นเล็กน้อย 2 กรัม (2/5 ช้อนชา)
วิธีทำ
เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเฉพาะเนื้อชิ้นเล็ก ๆ นำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด
 แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และมีสารเบต้า-คาโรทีน
ช่วยลดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจับที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอด
เลือดแข็งตัว
คุณค่าทางยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วย เส้นเลือดอุดตัน


 น้ำมะขาม
 
ส่วนผสม
เนื้อมะขามสด หรือเปียก 20 กรัม (2 ฝักใหญ่)
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว)
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5ช้อนชา)
น้ำเปล่า 240 กรัม (16 ช้อนคาว)
วิธีทำ
นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้นแกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไป ต้มกับน้ำตามส่วนผสม
ให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง
 เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือด แล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อม และเกลือ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วย บำรงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ
คุณค่าทางยาช่วยขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการ ขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง
 ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน


น้ำมะเฟือง



ส่วนผสม
มะเฟืองหั่น 40 กรัม (1 ผลเล็ก)
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว)
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5 ช้อนชา)
น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว)
วิธีทำ
ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออกแล้วนำใส่เครื่องปั่น
 เติม น้ำสุกปั่นละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมดูรสตามใจชอบ
 ถ้าต้องการเก็บ ไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด
 นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วเข้า ตู้เย็น จะได้น้ำมะเฟืองสีเหลืองอ่อนๆ
 ดื่มแล้วชื่นใจ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นหอม ประกอบ ด้วยคุณค่าของวิตามินเอ
วิตามินซี ฟอสฟอรัส และแคลเซียมเล็กน้อย
คุณค่าทางยาเป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะ รวมทั้งป้องกันเลือดออกตามไรฟัน





 น้ำมะม่วง





ส่วนผสม
เนื้อมะม่วงดิบ 100 กรัม (ครึ่งผลเล็ก) 

น้ำต้มสุก 200 กรัม (14 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 
เกลือป่น 1 กรัม (1/5 ช้อนชา) 

วิธีทำ

เตรียมวิธีที่ 1 ใช้มะม่วงดิบ เช่น มะม่วงแก้วหรือมะม่วงแรด เป็นมะม่วง ที่มีรสเปรี้ยวไม่มากนัก
 จะได้น้ำมะม่วงที่มีรสกลมกล่อม ปอกเปลือกมะม่วงออก ล้างน้ำ สับให้เป็นเส้นๆ เล็กๆ คั้นกับน้ำสุก
 กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติม น้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมดูตามใจชอบ ใส่น้ำแข็งดื่มจะได้น้ำ
มะม่วงใส สีขาวนวล มีรส หวานอมเปรี้ยว 

เตรียมวิธีที่ 2 ใช้มะม่วงดิบ เหมือนกับวิธีที่ 1 คือสับเนื้อมะม่วงให้เป็น เส้นๆ ปั่นให้ละเอียด
 เติมน้ำสุก น้ำเชื่อม และเกลือป่นตามต้องการ ชิมดูรสตาม ใจชอบ น้ำมะม่วงที่เตรียมวิธีนี้จะขุ่นขาว
 เพราะมีเนื้อมะม่วงป่นอยู่ 

เตรียมวิธีที่3 ใช้มะม่วงสุก ล้างมะม่วงให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเนื้อเข้า เครื่องปั่น เดิมน้ำสุก
 เติมเกลือเล็กน้อย ชิมดูตามต้องการ ถ้าต้องการหวานให้เติม น้ำเชื่อมลงไป 

น้ำมะม่วงควรเตรียมและดื่มให้หมดใน 1 วัน 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกัน โรคเลือดออกตามไร
ฟันและยังมีฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็กเล็กน้อย 

คุณค่าทางยาเป็นยาระบายอ่อน ๆ 


dkdgang

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสิว



สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสิว

     สิวเป็นโรคเรื้อรัง พบบ่อยมากเป็นอันดับต้นๆ ของปัญหาโรคผิวหนัง มักเป็นในวัยรุ่น แต่บางครั้งเลยวัยรุ่นไปแล้วก็อาจเป็นได้ ลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นสิวคือ เป็นเม็ดสิวอุดตันที่เรียกกันว่า คอมมิโดน ถ้าเป็นเม็ดนูนเล็กๆ ไม่มีรูเปิดเรียก สิวหัวขาว ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนังมองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลางเรียกสิวหัวดำ นอกจากนี้อาจเกิดเป็นตุ่มนูนเล็กๆ แดงๆ อาจเห็นเป็นตุ่มหนอง ,หรือตุ่มนูนแข็งเม็ดโต หรือตุ่มแดงอักเสบแบบถุงซีสต์ที่เรียกกันว่า สิวหัวช้าง สิวที่สร้างความวิตกมากคือ สิวบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่พบบ่อย ในบางรายอาจเกิดบริเวณ คอ , หลัง, อก, สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ฮอร์โมนเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมไขมันโตเต็มที่ผลิตน้ำมันมากขึ้น ท่อของต่อมไขมันหนาตัวมีการอุดตัน น้ำมันระบายออกไม่ได้คั่งค้างอยู่ภายใน เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณนี้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น ย่อยสลายไขมันทำให้เกิดความระคายเคือง และท่อต่อมไขมันแตกออก กรดไขมันออกสู่บริเวณข้างเคียงเกิดเป็นสิวอักเสบขึ้น ความรุนแรงของสิวแต่ละคนแตกต่างกันไป บางรายเป็นมากบางรายเป็นน้อย สิวอักเสบอาจกำเริบได้ในช่วงมีความเครียด เช่น อดนอน หรือในผู้หญิงช่วงใกล้มีประจำเดือน นอกจากนี้การบีบแกะสิว จะกระทบกระเทือนและนำเชื้อโรคเกิดการอักเสบมากขึ้น และมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นเมื่อสิวหายแล้ว
สิวแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.สิวไม่อักเสบเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน (COMEDONE) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1 สิวหัวปิด เห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ หัวขาว ๆ
1.2 สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ
2.สิวอักเสบ คือสิวที่หัวแดง ๆ หรือ เป็นหนอง พวกนี้ก็คือ (COMEDONE) ที่มีการติดเชื้อ(BACTERIA)  แทรกซ้อน
ดังนั้น ถ้าเป็นสิวอักเสบ การทำความสะอาด ใบหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ และการป้องกันไม่ให้มีการอุดตันที่รูขุมขน
(COMEDONE) โดยการใช้น้ำเปล่าล้างหน้าในตอนกลางวัน ก็พอจะช่วยให้สิวลดลงหรือป้องกันไม่ให้สิวใหม่เกิดขึ้น
แต่ถ้าเป็นสิวอักเสบ คงต้องปรึกษาแพทย์ เพราะต้องใช้ปฏิชีวนะ (กินหรือทาแล้วแต่ความรุนแรงของสิว)
สิวอักเสบควรจะต้องรีบรักษา ถ้าไปแกะหรือบีบหนองออก จะเป็นรอยแผลเป็น บุ๋มตลอดไป รักษายากมาก
การนอนดึกทำให้สิวเพิ่มขึ้น ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ อาจเป็นเพราะ
               1.ร่างกายอ่อนแอ เชื้อ Becteria ในสิวทำให้มีการอักเสบมากขึ้น
               2.Hormone เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะใน ผู้หญิง ตัวอย่างเช่น บางคนประจำเดือน หรือขณะตั้งครรภ์
                          จะมีสิวเพิ่มขึ้น
สมุนไพรที่ใช้รักษาสิวได้แก่
ว่านหางจรเข้ 
ล้างหน้าเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด ใช้วุ้นจากใบสดทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปล่อยให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก
     ข้อควรระวัง ต้องล้างยางสีเหลืองจากขอบใบออกให้หมดก่อนใช้ เนื่องจากมีฤทธิ์ระคายเคืองมาก อาจทำให้เกิดการแพ้ สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย อาจทดลองทาวุ้นบริเวณท้องแขนดูก่อน หากมีผื่นแดงหรือคันไม่ควรใช้ทาหน้า

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากหิด เหา โลน

Lazada Thailand

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากหิด เหา โลน 

     หิด
     เป็นตัวไรขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ในผิวหนังชั้นนอกของร่างกาย 
จะทำให้เกิดเป็นตุ่มน้ำใสและคันมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน มักเกิดบริเวณที่เป็นซอก เช่น ซอกระหว่างนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือข้อพับ อาจมองเห็นเป็นรอยคดเคี้ยวสีแดงใต้ผิวหนัง เนื่องจากการไชของตัวหืด การเกาบริเวณที่เป็นมากๆจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นหนองหรือแผลพุพองได้ หิดติดต่อกันได้โดยการสัมผัส และการใช้สิ่งของร่วมกัน มักพบว่าเป็นพร้อมๆกันหลายคนในบ้าน
     เหา โลน
     เป็นแมลงตัวเล็กๆที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีขนหรือผม เหา โลน มีลักษณะคล้ายกัน เหาจะอาศัยอยู่เฉพาะที่บริเวณหนังศีรษะและโคนเส้นผม ส่วนโลนมักอาศัยอยู่บริเวณหัวเหน่า และอาจพบได้ที่ทวารหนัก หน้าท้อง รักแร้ หนวด หรือแม้แต่ขนคิ้ว เหาและโลนจะทำให้ผู้ที่เป็นคันบริเวณที่เป็นมาก บางครั้งเกาจนเกิดผิวหนังอักเสบหรือติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนองได้ ถ้าเป็นในเด็กอาจทำให้ไม่มีสมาธิในเารเรียน นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส เล่น คลุกคลีกับผู้ที่เป็น ซึ่งมักพบว่าเป็นกันทั้งโรงเรียนหรือครอบครัว ส่วนโลนมักติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น การรักษาควรรักษาพร้อมๆกันทุกคนเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก     
สมุนไพรที่กำจัดหิด เหา โลน ได้แก่
น้อยหน่า ใช้เมล็ดประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด
     ข้อควรระวัง อย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบได้


สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อไวรัส


สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อไวรัส

     เชื้อไวรัสหลายชนิดสามารถทำให้เกิดอาการทางผิวหนังขึ้นได้ เช่น เริม วูสวัด หูด อีสุกอีใส รวมทั้งผื่นจากหัด หัดเยอรมัน เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สามารถใช้สมุนไพรรักษาในลักษณะของยาภายนอก ซึ่งได้แก่ เริม งูสวัดและหูด
     เริม     เป็นโรคจากเชื้อไวรัสที่พบได้ค่อนข้างบ่อยโรคหนึ่ง มักเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น อาการจะเริ่มด้วยการมีตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นเป็นกลุ่ม ผิวหนังรอบๆ จะมีสีแดงและมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก ต่อมาตุ่มจะกลายเป็นสีเหลืองขุ่นและแตกตกสะเก็ดหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ มักพบขึ้นบริเวณริมฝีปาก แก้ม และบริเวณอวัยวะเพศ หลังจากเป็นครั้งแรก แล้วมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อร่างกายอ่อนแอ เช่น เมื่อมีไข้ โดนแดดจัด เครียด หรือขณะมีประจำเดือน โรคนี้สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคบริเวณอวัยวะเพศ
     งูสวัด    เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับทีทำให้เกิดอีสุกอีใส อาการมักเริ่มต้นด้วยการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้ ต่อจากนั้นจะเริ่มรู้สึกปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณที่จะแสดงอาการ ตามด้วยการมีผื่นสีแดงและกลายเป็นตุ่มใสขึ้นเป็นแนวยาวไปตามเส้นประสาทมักเกิดเพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย หลังจากนั้นตุ่มจะแตก ค่อยๆแห้งและตกสะเก็ด หายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ อาการของงูสวัดมักรุนแรงมากขึ้นตามอายุของผู้ที่เป็น และมักไม่กลับมาเป็นว้ำอีก บางรายเมื่อแผลหายแล้วอาจเกิดเป็นแผลเป็นชนิดนูน หรืออาจมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือปวดแปลบบริเวณที่เคยมีอาการต่อไปอีกนานหลายเดือน
     หูด     เกิดจากเชื้อไวรัส Human papilloma หลายชนิด ทำให้เกิดเนื้องอกที่ผิวหนังในลักษณะต่างๆกัน เช่น อาจเป็นหูดราบ หูดนูนธรรมดา หูดหงอนไก่ ฯลฯ มักเกิดที่ข้อศอก หัวเข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือบริเวณอวัยวะเพศ หูดกระจายไปติดบริเวณอื่น หรือติดคนอื่นได้จากการแกะ เกา หรือสัมผัสกับผู้ที่เป็น หูดมักไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ นอกจากทำให้น่าเกลียด น่ารำคาญ สามารถหายเองได้ใน 1-2 ปี และกลับมาเป็นซ้ำได้
     
     สมุนไพรที่ใช้รักษาเริม ได้แก่
พญาปล้องทอง ใช้ใบสดล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดคั้นเอาเฉพาะน้ำ ทาบริเวณที่มีอาการเริม งูสวัด
ว่านหางจรเข้ ใช้วุ้นสดจากใบ (มีวิธีการนำมาใช้เช่นเดียวกับการใช้รักษาแผล) ใส่ลงบนบริเวณที่มีอาการให้ชุ่มอยู่เสมอ


     สมุนไพรที่ใช้กัดหูด ได้แก่
พญาไร้ใบ ใช้ยางแต้มบริเวณที่เป็นหูด วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยกัดหูดให้หลุดออก ไม่ควรให้สัมผัสผิวหนังปกติ โดยอาจใช้วาสลินทากันรอบๆบริเวณที่ป้ายยา

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา






สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา
     โดยปกติผิวหนังของคนเราจะมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อยทำให้เชื้อราส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญขึ้นได้แต่ในบางภาวะ เช่น เมื่อผิวหนังอับชื้นหรือเมื่อร่างกายอ่อนแอ เครียด เจ็บป่วยเรื้อรังหรือได้รับยาบางชนิด ภูมิต้านทานร่างกายจะลดลง อาจทำให้เชื้อราบางชนิดทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังขึ้นได้ โรคจากเชื้อราส่วนใหญ่ ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้ง่าย ดังงนั้นการดูแลรักษาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โรคเชื้อราบางชนิดไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยสมุนไพร เช่น เชื้อราที่เล็บ การใช้สมุนไพรบางชนิดตำ พอก อาจทำให้เกิดการอับชื้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรามากยิ่งขึ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคผิวหนังจากเชื้อที่พบบ่อยและสามารถใช้สมุนไพรในการรักษาได้ผลดังนี้
  เกลื้อน      เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดโดรคหนึ่ง เกิดจากเชื้อ Malassezia furfur ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นวงเล็กๆสีขาวหรืออาจพบเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงได้บ้าง ไม่ทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติใดๆ อาจมีอาการคันได้บ้างเล็กน้อย เป็นโรคที่ใช้เวลาในการรักษานาน และร้อยละ 60-80 มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้อีกภายในเวลา 1 ปี การทายาเป็นประจำก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้
     กลาก     เป็นโรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ที่มีสุขอนามัยไม่ดีหรือมีเหงื่อออกมาก อับชื้น นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ เช่น ในผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้ที่รับประทานยาบางชนิดอยู่ เช่น ยารักษามะเร็ง เชื้อราที่มีสาเหตุของกลากมีหลายชนิดในสกุล Microsporum, Epidermophyton และ Trichophyton เชื้อเหล่านี้ทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังได้หลายแห่ง ถ้าเกิดที่ผิวหนังทั่วไป จะทำให้มีลักษณะเป็นวงมีขอบนูนชัดเจน ขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ผิวหนังตรงกลางวงหักร่วงเป็นหย่อมๆ เห็นเป็นวงขอบชัดเจนที่หนังศีรษะ บางครั้งมีน้ำเหลืองเกรอะกรัง ถ้าเกิดบริเวณขาหนีบมักเรียกว่าสังคัง เกิดที่เท้าเรียกฉ่องกงฟุต หรืออาจเกิดที่เล็บมือ เล็บเท้าได้ กลากสามารถติดต่อกันได้ง่ายจากการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ที่เป็น หรือติดจากร้านตัดผม หากเกิดที่ผิวหนังทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้ไม่ยากนักแต่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน สมุนไพรหลายชนิดใช้รักษากลากได้ดี ส่วนกลากที่เล็บรักษาได้ยาก มาก การรักษาที่ได้ผลดีควรใช้ยารับประทาน การใช้สมุนไพรตำพอกเชื้อราที่เล็บจะทำให้ผิวหนังอับชื้นและเชื้อราลุกลามเร็วยิ่งขึ้น

 สมุนไพรที่ใช้รักษากลากเกลื้อน ได้แก่
กระเทียม ใช้กลีบกระเทียมฝานเป็นชิ้นบางๆหรือตำ ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง หลังจากหายแล้วให้ทายาต่อไปอีก 7-10 วัน
ชุมเห็ดเทศ ใช้ใบสดโดยตำแช่เหล้าไว้ประมาณ 3-5 วัน หมั่นคนยาที่แช่ไว้บ่อยๆ เอาส่วนเหล้าทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน วันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียดทาบริเวณที่มีอาการ
ข่า ใช้เหง้าสด ตำผสมกับเหล้าโรงใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน
ทองพันชั่ง ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการกลาก เกลื้อน วันละ 2-3 ครั้ง
มะคำดีควาย ใช้ผลทุบให้แตกแช่น้ำ หรือต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาสระผม แก้รังแค แก้ชันตุ และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากได้ดี
 

สมุนไพรรักษาแผลอักเสบเรื้อรัง






สมุนไพรรักษาแผลอักเสบเรื้อรัง




     เมื่อผิวหนังเกิดบาดแผลหรือเกิดการระคายเคืองคันจากการแพ้ แมลงกัดต่อยหรือสาเหตุอื่นๆ หากไม่ได้มีการดูแลรักษาความสะอาดให้ดีพอ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณนั้นกลลายเป็นแผลเรื้อรัง เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Staphylococus และ Beta Streptococcus โดยจะพบว่าบริเวณนั้นจะมีหนอง หรือน้ำเหลืองปนหนองไหลเยิ้ม อาจพบเป็นตุ่มหนองแล้วอตก ต่อมาจะแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล บางครั้งทำให้มีไข้หรือมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตได้ นอกจากนี้การติดเชื้ออาจเกิดบริเวณต่อมไขมันและขุมขน ทำให้เกิดเป็นฝี มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการทำความสะอาดแผลและช่วยให้บาดแผลหายได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดอาการอักเสบติดเชื้อยังขึ้นกับขนาดและบริเวณที่มีอาการด้วย หากเกิดเป็นบริเวณกว้างและอยู่ในบริเวณที่รักษาให้หายได้ยาก เช่น ที่ข้อพับหรือบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวหรือเสียดสีอยู่เสมอ หรือในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ควรต้องดูแลเป็นพิเศษ หรือต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดการลุกลามจนติดเชื้อในกระแสเลือด มีอันตรายถึงชีวิต
     สมุนไพรที่ใช้สำหรับแผลเรื้อรังได้แก่
ว่านหางจระเข้ ให้เลือกใบล่างสุดของต้นมาใช้ก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวและล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานวุ้นที่ได้เป็นแผ่นบางปิดแผลหรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาด พันทับเปลี่ยนวุ้นใหม่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย
ขมิ้นชัน ใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง โดยทำเป็นผงผสมน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็นแผล หรือใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด ฝนน้ำข้นๆทา
บัวบก ใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ แผลจะสนิทเร็ว
กะเม็ง ใช้ต้นสด ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทารักษาอาการผื่นคัน มีหนอง ป้องกันมือและเท้าเน่าเปื่อยจากการลุยน้ำสกปรก
ว่านหางช้าง ใช้เหง้าสดหรือแห้ง ต้มน้ำในอัตราส่วน 1:20 เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง เช้า-เย็น แก้อาการผื่นคัน อักเสบมีหนองได้ผลดี
มังคุดใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง 1-2 ผล สับเป็นชิ้นเล็กๆต้มกับน้ำ 1 ลิตร ให้เดือดประมาณ 15 นาที เติมเกลือประมาณ 1 ช้อนชา ใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง แผลมีหนอง
เหงือกปลาหมอดอกขาวและเหงือกปลาหมอดอกม่วง ใช้ต้นสดหรือแห้งทั้งต้น ต้มน้ำอาบ หรือชะล้างแผลเรื้อรัง ผื่นคันตามร่างกาย
น้ำผึ้ง ใช้น้ำผึ้งอุ่นด้วยไฟอ่อนๆจนเดือดทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ลงบนแผลเรื้อรังให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลา โดยใช้ผ้าพันแผลไว้แล้วหยดน้ำผึ้งลงบนผ้าพันแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หากไม่มีน้ำผึ้งสามารถใช้น้ำเชื่อมข้นๆแทน โดยใช้น้ำตาล 1 ส่วน ละลายน้ำ 1 ส่วน ตั้งไฟอ่อนๆจนน้ำเชื่อมเดือด ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำมาใช้ในลักษณะเดียวกันกับน้ำผึ้ง

สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก


สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 




การเกิดบาดแผล ถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้ จะทำให้ผิวหนังถูกทำลาย พองหรือหลุดออกไป อันตรายของอุบัติเหตุเหล่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล ตำแหน่งของบริเวณที่เป็น ความรุนแรงที่ไดรับ รวมทั้งวิธีการปฐมพยาบาลและดูแลรักษา การที่ผิวหนังฉีกขาดหรือหลุดลอกออกไป ทำให้เสียเลือดได้มากและบริเวณที่เปิดมีโอกาสสัมผัสและรับเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เกิดการติดเชื้อและเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ง่าย การปฐมพยาบาล ถ้าบาดแผลสกปรกควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ หากมีเลือดไหลควรรีบทำการห้ามเลือด มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ได้ผลในการรักษาบาดแผลและแผลจากน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ได้ผลดี แต่เนื่องจากรูปแบบของการใช้สมุนไพรส่วนใหญ่มักเป็นการใช้สมุนไพรสดหรือแห้งตำพอก หรือฝนน้ำทา หากไม่รักษาความสะอาดให้ดีพอจะทำให้บริเวณบาดแผลมีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นควรต้องระวังเรื่องความสะอาดให้มาก ถ้าเป้นไปได้ควรเลือกสมุนไพรที่ผ่านวิธีต้ม หรือผ่านความร้อนมาก่อนจะช่วยทำลายเชื้อโรคได้ระดับหนึ่ง สมุนไพรที่ใช้รักษาบาดแผล แผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ได้แก่ 
ว่านหางจรเข้ให้เลือกใบล่างสุดของต้นมาใช้ก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวและล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใส่ที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย
บัวบก ใช้ใบสดปริมาณพอเหมาะกับขนาดของแผล ล้างให้สะอาด ตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทจะเกิดแผลเป็นชนิดนูนน้อยลง
สาบเสือ ใช้ใบสดล้างสะอาด ตำให้ละเอียดพอกปากแผล หรือขยี้ปิดปากแผล อาจใช้มือกดหรือใช้ผ้าพันแผลพัน จะช่วยห้ามเลือดให้หยุดไหลได้เร็วขึ้น