


สารสำคัญในสมุนไพรที่ออกฤทธิ์แก้อาการท้องเสียส่วนใหญ่ คือ สารในกลุ่มแทนนินซึ่งมีรสฝาดและมีฤทธิ์ฝาดสมาน ในกรณีท้องเสีย เนื้อเยื่อที่ผนังลำไส้ใหญ่มีการระคายเคือง อาจเนื่องจากสารอาหารรสจัด สารเคมีบางชนิดหรือพิษของเชื้อโรค ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวมากกว่าปกติ จึงเกิดการถ่ายอุจจาระบ่อยๆ สารแทนนินเมื่อสัมผัสกับผนังลำไส้ใหญ่จะรวมตัวกับโปรตีนที่เนือ้เยื่อบุผิวแล้วเปลี่ยนเป็นสารที่สามารถทำลายโปรตีนของตัวเชื้อโรคและทำให้เชื้อโรคตาย การใช้สมุนไพรที่มีแทนนินมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะแทนนินอาจถูกดูดซึมเข้าร่างกายในปริมาณมาก และมีผลเสียต่อตับ
กล้วยน้ำว้า รับประทานผลดิบสดครั้งละครึ่งถึง 1 ผล อาจใช้ผลดิบหั่นบางๆตากแห้ง บดเป็นผงชงน้ำดื่ม ใช้ผงยาเท่ากับครึ่งถึง 1 ผล
ข้อควรระวัง อาจมีการท้องอืดหลังรับประทานยานี้ แก้ได้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆ
ข้อควรระวัง อาจมีการท้องอืดหลังรับประทานยานี้ แก้ได้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆ
ทับทิม ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1/4 ของผล ต้มกับน้ำปูนใสดื่ม หรือใช้ครั้งละ 3-5 กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ฝรั่งใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ย่างไฟให้กรอก ต้มน้ำดื่ม 1 แก้ว เหยาะเกลือเล็กน้อย ดื่มต่างน้ำ หรือใช้ผลดิบ 1 ผล ฝนกับน้ำปูนใสดื่ม
ฟ้าทะลาย พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า กลางวันและเย็น หยุดยาเมื่อหยุดถ่าย อาจใช้ในรูปผงละลายน้ำหรือปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้ โดยคำนวณจากจำนวนเม็ดให้ได้ปริมาณยาตามที่กำหนด อาการข้างเคียงที่อาจพบ คือ คลื่นไส้ อาเจียนเป็นน้ำใส ไม่สบายในท้อง ถ้าเป็นมากให้หยุดยา
มังคุด ใช้เปลือกผลแห้งครึ่งผล (ประมาณ 4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียม บดเป็นผงละลายน้ำหรือฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว ใช้น้ำดื่มทุก 2 ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น