สาเหตุของโรคดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ปกติจะมีสารเมือก (mucin) หลั่งออกจากต่อมในส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและส่วนบนของลำไส้เล็ก เพื่อป้องกันเยื่อบุกระเพาะจากฤทธิ์กัดของน้ำย่อยที่เป็นกรดอย่างแรง แต่มีปัจจัยบางอย่างที่คาดว่าจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง เกิดการอักเสบและเป็นแผลได้ง่าย เช่น ภาวะขาดอาหาร ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานยาหรือสารบางชนิดที่กัดกระเพาะ สูบบุหรี่จัด ดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนมากหรือเนื่องจากกรรมพันธุ์
อาการระยะแรก คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาจมีความรู้สึกอิ่มแน่นหรือหิวร่วมด้วย แผลในกระเพาะอาหารมักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 1-ชั่วโมงครึ่ง ส่วนแผลในลำไส้มักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมง และช่วงดึกหลังเที่ยงคืนด้วย
การรักษาจะไม่หายขาด ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองคล้ายกับผู้ป่วยท้องอืด ท้องเฟ้อ ระยะที่ปวดท้องควรดื่มนมถั่วเหลืองทุก 3-4 ชั่วโมงพร้อมทั้งใช้สมุนไพรที่แนะนำ รับประทานอาหารอ่อน ทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ งดอาหารรสจัดและสิ่งต้องห้ามข้างต้น และหาทางคลายเครียดด้วย จะมีสมุนไพรที่ช่วยรักษาเยื่อบุทางเดินอาหารให้แข็งแรงขึ้น และควรใช้สมุนไพรขับลมร่วมด้วย
กล้วยน้ำว้ารับประทานผลดิบสดครั้งละครึ่งถึง 1 ผล อาจใช้ผลดิบหั่นบางๆตากแห้ง บดเป็นผงชงน้ำดื่ม ใช้ผงยาเท่ากับครึ่งถึง 1 ผล
ข้อควรระวัง อาจมีอาการท้องอืดหลังรับประทานยานี้ แก้ได้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆ
ขมิ้นชันผงขมิ้นครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนหรือปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
ขมิ้นชันผงขมิ้นครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนหรือปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น